วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาสมัยอยุธยาและธนบุรี




ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา


ภูมิปัญญาด้านการตั้งถิ่นฐาน
การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยอดีตมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางภูมิศาสตร์ กล่าวคือ ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งอาหารและในที่ซึ่งมีความปลอดภัยสำหรับอยุธยาตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มดินดอน สามเหลี่ยมเจ้าพระยาตอนล่างสภาพโดยทั่วไปของพื้นที่อุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการ ของชุมชน ขณะเดียวกันที่ตั้งของอยุธยายังตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยาลพบุรี
ป่าสักไหลมาบรรจบกัน ทำให้ปลอดภัยและสามารถใช้แม่น้ำลำคลองเหล่านี้เป็นเส้นทางคม นาคมติดต่อค้าขายและเข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่มากมายในหัวเมืองอื่นๆทางหัวเมืองเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือตลอดจนอาณาจักรที่อยู่ลึกเข้าไปเช่นอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง และพุกามได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ที่ตั้งของอยุธยาอยู่ห่างจากปากน้ำเจ้าพระยาประมาณ ๒๐๐  กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ ๓ วัน  เพื่อล่องเรือจากราชธานีไปจนถึงปากน้ำ ดังนั้นเมื่อข้าศึกยกทัพมางทะเลจึงมีเวลาเตรียมพร้อมสำหรับการป้องกันเมืองการที่อยุธยาที่มีที่ตั้งซึ่งมีสภาพแวดล้อมเช่นนี้ทำให้อยุธยามีความปลอดภัยและมีอาหารอุดมสมบูรณ์อย่างไรก็ตามสภาพภูมิประเทศของอยุธยาซึ่งเป็นที่ราบลุ่มเมื่อถึงฤดน้ำหลาก จะมีน้ำท่วมขังกินเวลานานทำให้เป็นอุปสรรคต่อการตั้งถิ่นฐานแต่ชาวอยุธยาและผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาโดยการ ปลูกเรือนใต้ถุนสูงพ้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม เมื่อนน้ำลดพื้นดินแห้งดีแล้วสามารถใช้ประโยชนจากบริเวณใต้ถุนเรือนซึ่งเป็นที่โล่งทำกิจกรรมภายในครัวเรือน เช่น จักสาน ทอผ้า เลี้ยงลูก หรือใช้สำหรับเก็บอุปกรณ์จับปลาและเครื่องมือมำนา   บ้านเรือนของชาวอยุธยามี   ลักษณะคือ
๑.เรือนชั่วคราวหรือเรือนเครื่องผูก  เป็นเรือนของชาวบ้านโดยทั่วไปสร้างด้วยไม้ไผ่หรือใบจากซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและสามารถรวบรวมกำลังคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านปลูกเรือนได้ไม่ยาก
๒.เรือนถาวรหรือเรือนเครื่องสับ  เป็นเรือนของผู้มีฐานะ เช่น ขุนนางหรือเจ้านาย ซึ่งเป็นเรือนที่สร้างอย่างประณีตด้วยไม้เนื้อแข็งหนาแน่นและทนทานไม้เหล่านี้ได้จากป่าในหัวเมืองเหนือที่ใช้วิธีล่องลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยา
นอกจากเรือนยกพื้นสูงแล้วชาวอยุธยายังอาศัยอยู่ในเรือนอีกประเภทหนึ่งที่ไม่มีเสา พื้นเรือนติดน้ำแต่ลอยได้ คือเรือนแพที่สะดวกสำหรับการ เคลื่อนย้าย เรือนแพนี้ยังทำหน้าที่เป็นร้านค้าด้วยดังนั้นที่กรุงศรีอยุธยาจึงมีเรือนแพตั้งเรียงรายอยตามแม่น้ำ ลำคลอง ชาวอยุธยานอกจากจะปรับตนให้เข้ากับภูมิประเทศที่ประกอบด้วยแม่น้ำลำคลองแล้วยังใช้ภูมิปัญญาดัดแปลงแม่น้ำลำคลอง เพื่อใช้ป้องกันข้าศึกได้ด้วยตัวอย่างเช่น ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่า จึงมีการเตรียมการโดยขยายขุดลอกคลองคูขื่อหน้าเพื่อให้อยู่ในสภาพที่รับศึกได้หรือการที่มหานาควัดทท่าทราย ระดมชาวบ้านขุดคลองมหานาคเป็นคูป้องกันพระนครชั้นนอกอีกชั้นหนึ่งเมื่อ พ.ศ.๒๐๘๖ เพื่อป้องกันศึกพม่า   นอกจากที่กล่าวมาแล้ว สภาพภูมิประเทศที่เป็นมาน้ำลำคลองจำนวนมาก ทำให้ชาวอยุธยามีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการใช้เรือในการ คมนาคมเรือสำหรับชาวบ้านเป็นเรือที่ต่ออย่างง่ายๆ เช่นเรือขุดและเรือแจว  แต่คนในสมัยอยุธยามีภูมิปัญญาในการขุดเรือยาว  ที่พระมหากษัตริย์อยุธยาใช้เป็นเรือรบในการขนกำลังคนไปได้เป็นจำนวนมากพระมหากษัตริย์เสด็จพยุหยาตราเพื่อเสด็จไปทำสงครามและไดพัฒนาเป็นกองทัพเรือ ในเวลาที่บ้านเมืองเป็นปกติพระมหากษัตริย์ทรงใช้เรือเหล่านี้เสด็จพระราชดำเนินในพิธีต่างๆ เช่นพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยจัดขบวนเรือรบซึ่งเท่ากับเป็นการซ้อมรบโดยปริยาย
ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพ
อยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรือง เศรษฐกิจของอยุธยามีทั้งที่ทำการเกษตรและการค้าภายใน ต่อมาจึงพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการค้ากับนานาชาติ ภูมิปัญญาในด้านเกษตรกรรมเกิดจากความเหมาะสม ทางสภาพภูมิศาสตร์และความรู้ที่สะสมมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษทำให้อยุธยาเป็นแหล่งเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกข้าวซึ่งการปลูกข้าวถือเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของคนอยุธยาที่รู้จักคัดเลือก พันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศที่น้ำท่วมถึง คือข้าวพันธุ์วิเศนอกจกานี้ชาวอยุธยารู้จักปลูกต้นไม้ผลไม้ในบริเวณที่เป็นคันดินธรรมชาติ (Natural Levee)ที่ขนานไปกับแม่น้ำลำคลอง ผลไม้เหล่านี้ได้รับปุ๋ยธรรมชาติทำให้มีรสชาติอร่อย ชาวสวนผลไม้อยุธยา ได้ปรับปรุงพันธุ์ผลไม้จนทำให้ผลไม้ที่มีชื่อเสียง ในปัจจุบันด้วยภูมิปัญญา ดังนี้อยุธยาจึงมีปริมาณอาหาร พอเพียงกับความต้องการ ของพลเมือง ทำให้สามารถพึ่งตนเองได้เพราะอาหารหลัก คือ ข้าวสามารถปลูกเองได้ สำหรับพืชผักและกุ้ง หอย ปู ปลา หาได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป
             สภาพภูมิประเทศของอยุธยามีคูคลองเป็นจำนวนมาก ชาวอยุธยาใช้ประโยชน์จากคูคลองที่ปรียบเสมือนเป็นถนนให้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นได้มีการคมนาคมการขุดคลองลัดเพื่อย่นระยะทางจากปากแม่น้ำ เช่น คลองลัดบางกอกใหญ่ เพื่อความสะดวกในการคมนาคมขนส่งตั้งแต่ยุคกลาง เป็นต้นมา อยุธยาส่งข้าวเป็นสินค้าหลักไปขายยังต่างแดนเช่น ที่เมืองจีน นอกจากนี้ความเหมาะสมของที่ตั้งอยุธยาไม่ห่างจากทะเลมากนักและมีสินค้าหลากหลายชนิด ทำให้พ่อค้าต่างชาติเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาทำให้อยุธยากลายเป็นเมืองท่านานาชาติโดยเฉพาะในพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ พระมหากษัตริย์อยุธยาโปรดคัดสรรชาวต่างชาติให้เข้ารับราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานทางทหารและการค้าในด้านการค้าชาวต่างชาติ เหล่านี้มีความชำนาญทั้งด้านการค้าและการเดินเรือ มีความรู้ด้านภาษาและเข้าใจวัฒนธรรมของชาติที่อยุธยาติดต่อค้าขายด้วยการรับชาวต่างชาติเข้ารับราชการ แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวอยุธยาที่รู้จักเลือก ใช้คนที่มีความชำนาญให้เป็นผู้รับผิดชอบงานต่างๆอยุธยาจึงสามารถขนส่งสินค้าบรรทุกสำเภาไปขายยังเมืองท่าดินแดนต่างๆได้โดยสะดวก
                  สำเภาอยุธยายังแสดงให้เห็นภูมิปัญญาไทย กล่าวคือพระมหากษัตริย์โปรดให้ต่อสำเภาโดยช่างชาวจีน เป็นเรือสำเภาประเภท ๒ เสา คล้ายกับสำเภาจีนซึ่งแล่นอยู่ตามทะเลจีนใต้ ใบเรือทั้งสองทำด้วยไม้ไผ่สานซึ่งหาได้ง่ายและมีน้ำหนักเบา ส่วนใบเรือด้านบนสุดและด้านหัวเรือใช้ผ้าฝ้ายซึ่งเป็นวัดุที่ชาวอยุธยาทอใช้ในครัวเรือนแต่วิธีการเป็นวิธีแบบชาวตะวันตกที่ช่วยให้สำเภาเร็วขึ้นสำหรับหางเสือของสำเภาเป็นไม้เนื้อแข็งคล้ายกับสำเภาจีน (ชนิดที่เดินทางไกล) แต่ทว่าหางเสือของสำเภาอยุธยาได้เจาะรูขนาดใหญ่ไว้ ๓ รู แล้วสอดเหล็กกล้า ยึดติดกับลำเรือทำให้บังคับเรือได้ดีและมีความคงทนนอกจากนี้บริเวณกาบเรือใช้น้ำมันทาไม้และใช้ยางไม้หรือสีทา ในส่วนของเรือที่จมน้ำโดยผสมปูนขาวเพื่อป้องกันเนื้อไม้และตัวเพลี้ยเกาะซึ่งทำให้เรือผุ สำเภาอยุธยานับเป็นภูมิปัญญาของคนอยุธยาที่ใช้เทคโนโลยีผสมกันระหว่างสำเภาจีนกับเรือแกลิออทของ ฮอลันดาเพื่อให้เรือวิ่งได้เร็วและทนทาน ภูมิปัญญาของชาวอยุธยาในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจ ของอยุธยามั่งคั่งรุ่งเรือง
ภูมิปัญญาด้านศาสนาและความเชื่อ
พระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูมีบทบาทต่อการวางรากฐานระบบการเมืองบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นคติความเชื่อนี้ได้หล่อหลอมสังคมอยุธยาให้เป็น อันหนึ่งอันเดียวกันดังอธิบายเพิ่มเติมดังนี้
                พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกอยู่ในสังคมอยุธยา ผู้มีความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาย่อมเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ทำให้พ้นทุกข์เนื่องจากมนุษย์ต้องเวียนว่าย ตายเกิดอันเกิดจากกฎ แห่งกรรมและเรื่องนรก สวรรค์ นอกจากนี้ยังเชื่อในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่ว่าทุกสิ่งคืออนิจจังภูมิปัญญาจากความเชื่อนี้ทำให้ชาวอยุธยาสามารถ เผชิญกับปัญหาความทุกข์ยากต่างๆในชีวิตได้ด้วยความอดทนนอกจากนี้การที่สังคมอยุธยาเป็นสังคมนานาชาติที่มีคนต่างชาติต่างศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐาน โดยพระมหากษัตริย์อยุธยาทรงอนุญาตให้ปฏิบัติพิธีกรรมและเผยแผ่ศาสนาได้โดยเสรี ความเป็นสังคมนานาชาติเกิดจากความเข้าใจและเห็นคุณค่าขันติธรรมในเรื่องศาสนาภูมิปัญญาด้านศาสนาทำให้คนอยุธยามหลักในการดำเนิน   ชีวิตเพื่อความสุขขิงตนเองและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม

                ภูมิปัญญาในสมัยอยุธยาสามารถประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน คือ การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการนำเทคโนโลยีบางอย่างที่เหมาะสมมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและความอดทนเข้าใจผู้อื่นที่มีเชื้อชาติ ศาสนาหรือมีความคิดแตกต่างกับตนเอง โดยมุ่งทำให้สังคมมีความสงบสุข
                [เสริม]
                ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรม
              การสถาปนาอาณาจักรอยุธยาใน พ.ศ.๑๘๙๓ นับเป็นการเริ่มต้นศิลปวัฒนธรรมไทยในสมัยอยุธยาซึ่งมีรากฐานมาจากสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันศาสนา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านศิลปกรรม วรรณกรรมประเพณี รวมทั้งพระพุทธศาสนา ซึ่งคนไทยศรัทธาและยึดมั่นเป็นสรณะมาโดยตลอดศิลปวัฒนธรรมไทยในสมัยอยุธยาเกิดจากการผสมผสานระหว่างศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทย และ ศิลปวัฒนธรรมที่รับมาจากภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปวัฒธรรมจากอินเดียที่อยุธยารับมาจากเขมรและจากอินเดียโดยตรง

นอกจากนี้ อยุธยายังรับศิลปวัฒนธรรมไทยจากสุโขทัยเข้ามาผสมเข้ากับวัฒนธรรมของอยุธยา จนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของอยุธยาในที่สุด และในระยะต่อมาได้กลายเป็นรากฐานของศิลปวัฒนธรรมไทยในสมัยต่างๆจนถึงปัจจุบัน อยุธยาได้รับวัฒนธรรมจากสุโขทัยมาผสมผสานเข้าด้วยกันจนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของอยุธยา ซึ่งมีทั้งทางด้านศิลปกรรม อันประกอบด้วย สถาปัตยกรรม ประติมากรรมจิตรกรรม ประณีตศิลป์ และ ศิลปการแสดง นอกจากนี้มีด้านวรรณกรรม ด้านประเพณี และ ด้านพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยาทั้งในตอนต้นและตอนปลาย ล้วนแต่เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันพระพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น หรือที่กล่าวอย่าสั้นๆคือ จาก วังกับ วัดศิลปกรรมต่างๆ จะมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งวังและวัดเป็นส่วนใหญ่ ศิลปะการแสดงมาจากวังเป็นส่วนใหญ่และส่วนหนึ่งเป็นของชาวบ้าน วรรณกรรมส่วนใหญ่ได้สะท้อนเรื่องราวในราชสํ านัก และสะท้อนให้เห็นถึงหลักคํ าสอนของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ได้รับการสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาจนถึงสมัยรัชรัตนโกสิน
ประณีตศิลป์
ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา
ลักษณะของศิลปวัฒนธรรมในสมัยอยุธยา แบ่งได้หลายประเภท โดยสรุปลักษณะที่สำคัญแต่ละประเภท ดังนี้
1. ศิลปกรรมสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ประณีตศิลป์
2. วรรณกรรม
3. ประเพณี
4. พระพุทธศาสนา
              ประณีตศิลป์
งานประณีตศิลป์สมัยอยุธยาถือได้ว่ามีความเจริญถึงขีดสุดเหนือกว่าศิลปะแบบอื่นๆ งานประณีตศิลป์ที่เกิดขึ้นมีหลายประเภท เช่น
- เครื่องไม้จำหลัก
ได้แก่ ตู้พระธรรม ธรรมาสน์ พระพุทธรูป บานประตู หน้าต่าง หน้าบันพระอุโบสถ ตู้เก็บหนังสือ
- ลายรดน้ำ คือการนำทองมาปิดลงบนรักสีดำบนพื้นที่เขียนภาพหรือลวดลายแล้วรดน้ำล้างออก นิยมใช้ในบานประตูโบสถ์วิหาร ตู้พระธรรม ตู้ใส่หนังสือ เป็นต้น
- การประดับมุก
ได้มาจากจีน แต่ได้ปรับให้เป็นลวดลายอย่างไทย พบในบานประตูที่วิหารพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
- เครื่องเบญจรงค์ เป็นการออกแบบลวดลายบนเครื่องเคลือบถ้วยชามด้วยสี 5 สี คือ สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีดำ และสีน้ำเงิน ลวดลายที่ใช้มักเป็นลายก้นขด หรือลายก้านแย่ง หรือใช้รูปตกแต่ง เช่น เทพนมสิงห์ ลายกนก กินรี กินนร นรสิงห์ เป็นต้น
- เครื่องทองประดับ
มีทั้งเครื่องทองรูปพรรณ เครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ เครื่องทองประดับอัญมณี ทองกร เป็นต้น
- ลายปูนปั้น คือลวดลายที่ปั้นด้วยปูนเพื่อประดับตกแต่งตามส่วนต่างๆ ของหน้าบันประตู เจดีย์ และปรางค์ ได้รับอิทธิพลทั้งจากขอมและตะวันตก เช่น ที่วัดมหาธาตุ วัดราษฎร์บูรณะ วัดตะเว็ต วัดพระราม วัดภูเขาทอง เป็นต้น
ลักษณะสังคมสมัยอยุธยา
- - - ชนชั้นทางสังคม - - -
สามารถแบ่งตามยุคของแต่ละสมัยได้ดังนี้
สังคมในสมัยอยุธยาประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ ทาส และพระสงฆ์ โดยมีอำนาจและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป แบ่งได้เป็น 2 ชนชั้นใหญ่ๆ คือ
1. ชนชั้นปกครอง
2. ชนชั้นใต้การปกครอง
- - -การศึกษา - - -
สามารถแบ่งได้ดังนี้
              ในสมัยอยุธยา การศึกษาถูกจำกัดอยู่ในวงจำกัด ไม่ได้มีมากเหมือนในปัจจุบัน เป็นการศึกษาแบบไม่บังคับผู้สอนมักสงวนวิชาไว้แค่ในวงศ์ตระกูลของตนหรือคนเพียงวงแคบ ส่วนใหญ่จะจัดกันในสถานที่เหล่านี้ ได้แก่
1) วัด จะให้การศึกษากับบุตรหลานในเรื่องจริยธรรม พฤติกรรม หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียม การอ่านและเขียนภาษาไทย การคำนวณ รวมไปถึงวิชาการพื้นฐานอื่นๆ เช่น วิชาเวทมนตร์คาถาอยู่ยงคงกระพัน หรือวิชาช่าง ทั้งช่างฝีมือและศิลปกรรมผู้ที่เรียนต้องบวชเรียนเป็นภิกษุหรือสามเณรเสียก่อน ส่วนใหญ่ผู้ที่เรียนจะเป็นบุตรหลานในครอบครัวของคนสามัญชน
              2) บ้าน ส่วนใหญ่จะให้การศึกษาในวิชาชีพที่ครอบครัวมีอยู่ สำหรับเด็กชายจะเป็นงานที่เป็นอาชีพในบ้านอยู่แล้ว เช่น งานตีเหล็ก งานปั้น งานแกะสลัก งานช่าง หรือการรับราชการ เพื่อจะได้สืบทอดงานต่อไป ส่วนเด็กผู้หญิงก็จะเป็นงานบ้านงานเรือน เช่น การทำอาหาร เย็บปักถักร้อย เพื่อเป็นแม่บ้านต่อไป
3) วัง เป็นสถานศึกษาสำหรับคนชั้นสูง ผู้ที่เรียนมักเป็นเชื้อพระวงศ์ เจ้านายในพระราชวังเท่านั้น จะให้การศึกษาในเรื่องการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรม เพื่อไปใช้ในการปกครองในเวลาต่อไป ผู้สอนก็เป็นปราชญ์ทั้งหลายที่ประจำอยู่ในพระราชวัง ซึ่งมีความรู้อย่างมาก วังนับเป็นสถานศึกษาที่สำคัญที่สุด เพราะมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตอยู่มากมาย
หลังจากที่มีชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อกับไทย ก็ได้นำหมอสอนศาสนาหรือมิชชันนารีมาด้วย นอกจากจะเผยแผ่ศาสนาคริสต์ของชาวตะวันตกนั้นแล้ว ก็ได้ให้การศึกษากับชาวไทย โดยจัดตั้งโรงเรียนเพื่อให้วิชาการ วิทยาการต่างๆ แก่เด็กไทยได้มีความรู้ทัดเทียมกัน หรือบางครั้งก็มีการส่งนักเรียนไทยไปเรียนยังต่างประเทศ เพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเมืองต่อไป
ลักษณะสังคมสมัยอยุธยา
- - - กระบวนการยุติธรรม - - -
สามารถแบ่งได้ดังนี้
กฎหมายในสมัยอยุธยาที่ตราขึ้นมานั้นมีลักษณะเหมือนในปัจจุบัน เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นหลักฐานชัดเจนตราขึ้นมาเพื่อใช้บังคับคน
ในสังคมทุกคนให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย
กฎหมายที่ตราขึ้นอาจแยกเป็นดังนี้
- คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายแม่บทที่ใช้เป็นหลักสำหรับใช้พิจารณาคดีความ และตรากฎหมายย่อยขึ้นมารองรับ ไทยได้นำแบบอย่างมาจากกฎหมายของมอญ ซึ่งมอญก็นำมาจากอินเดียมา
- พระราชศาสตร์ เป็นกฎหมายย่อยที่ตราขึ้นมาใช้ โดยตราเป็นพระราชกำหนด พระราชบัญญัติ หรือบทพระอัยการ โดยอาศัยคัมภีร์พระราชศาสตร์เป็นหลัก และคำนึงถึงความเหมาะสมของเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น
กฎหมายสำคัญๆ ที่มีการตราขึ้นใช้ เช่นกฎหมายลักษณะพยาน | กฎหมายลักษณะอาญา | กฎหมายลักษณะรับฟ้อง | กฎหมายลักษณะโจร | กฎหมายลักษณะลักพา | กฎหมายลักษณะผัวเมีย กฎหมายพิสูจน์การดำน้ำลุยเพลิง | กฎหมายลักษณะมรดก เป็นต้น
ศาล
หลังจากที่มีกฏหมายมาบังคับใช้แล้วหากผู้ไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องถูกลงโทษ
ตามความผิดที่กระทำลงไป และมีศาลเป็นสถานที่ตัดสินคดีความต่างๆ ให้ลุล่วงไป ศาลถูกจัดให้สอดคล้องกับการปกครองแบบจตุสดมภ์ ทำให้มี 4 ศาล คือ ศาลกรมวัง ศาลกรมเมือง ศาลกรมนา และศาลกรมคลัง ซึ่งจะพิจารณาคดีเฉพาะที่เกี่ยวกับหน้าที่การทำงานของแต่ละกรมเท่านั้น
หลังจากที่มีการฟ้องร้องเกิดขึ้นแล้ว ลูกขุน ณ ศาลหลวง จะเป็นผู้ตัดสินว่าคดีดังกล่าวสมควรจะรับฟ้องหรือไม่ ถ้ารับฟ้องก็จะส่งเรื่องไปให้ศาลกรมที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้น ในการพิจารณาคดี มีการแบ่งให้บุคคล 2 คณะ คือ ตุลาการ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนจำเลยและโจทก์ ถ้าพยานหรือหลักฐานไม่เพียงพอก็เรียกพยานหรือหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งบางครั้งถ้าจำเลยหาหลักฐานมาแก้ต่างให้กับตนไม่ได้แต่ไม่ยอมรับสารภาพ ก็จะมีการพิสูจน์โดยการดำน้ำลุยไฟ ถ้าผ่านไปได้ก็จะถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ทันที เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วก็จะเสนอยังคณะลูกขุนให้ทำการตัดสินว่าฝ่ายใดเป็นผู้แพ้หรือชนะคดี พร้อมด้วยเหตุผลประกอบ ซึ่งหากไม่พอใจในการตัดสินก็สามารถอุทธรณ์ต่อไปได้
             แบ่งออกเป็น 5 ราชวงศ์ดังต่อไปนี้
1.- - ราชวงศ์อู่ทอง - -
2.- - ราชวงศ์สุพรรณภูมิ - -
3.- - ราชวงศ์สุโขทัย - -
4.- - ราชวงศ์ปราสาททอง - -
5.- - ราชวงศ์บ้านพลูหลวง - -
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสมัยธนบุรี



ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี

กรุงธนบุรีมีอายุเพียง  15  ปีแต่ก็ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีคุณค่าอันสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  โดยเกิดจากปัจจัยสำคัญ  คือ
1.        การรับอิทธิพลด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสืบทอดมาจากอยุธยา  เช่น  ด้านศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ
2.        การรับอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตก  มีผลต่อภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี
น้อยมาก  ถึงแม้จะมีการเผยแผ่คริสต์ศาสนา  แต่สิ่งที่สำคัญมากคือ  ความต้องการอาวุธปืนที่ใช้ในการป้องกันประเทศ  ดังปรากฏหลักฐานที่บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา  ได้ถวายปืน  50  กระบอก    เพื่อแลกกับไม้ฝางของไทย
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการพิจารณาทำเลที่ตั้งของราชธานี
อยู่ริมแม่น้ำและอยู่ใกล้ทะเล  การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลือกชัยภูมิให้เมืองธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ของไทยเพื่อป้องกันมิให้พม่าโจมตีได้  เพราะแถบนี้น้ำลึก  ถ้าข้าศึกยกทัพมาทางบกไม่มีทัพเรือเป็นกำลังด้วยแล้วยากที่จะเข้ามาตีกรุงธนบุรีได้  ประกอบกับธนบุรีมีป้อมปราการมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  เป็นเมืองขนาดย่อม  ทัพบกและทัพเรือของธนบุรี
ย่อมสามารถรักษาราชธานีไว้ได้  แต่ถ้ารักษาไม่ได้  ก็สามารถยกทัพกลับไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองจันทบุรีดังเดิม  นอกจากนี้การที่กรุงธนบุรีตั้งปิดปากน้ำย่อมป้องกันมิให้หัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของธนบุรีสามารถไปมาค้าขายหรือแสวงหาอาวุธจากต่างประเทศได้ยากขึ้น  ขณะที่ทางธนบุรี
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาการดำรงชีวิต
สมัยธนบุรีได้ประสบกับภาวะสงครามและการขาดแคลนข้าว    ทำให้เป็นปัญหาของสังคมไทยในขณะนั้น  จึงมีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการดำรงชีวิต  เช่น
1.       สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ปัญหาด้วยการโปรดให้ผู้คนที่อดอยาก
เข้ามารับพระราชทานข้าวปลาอาหาร  ขณะนั้นข้าวสารที่พ่อค้าสำเภาจีนนำมาขายมีราคาแพงมาก  แต่พระองค์ก็ซื้อข้าวสารแจกจ่ายราษฎรข้าวมาขายเพื่อหวังผลกำไรเป็นจำนวนมาก  เมื่อข้าวสารในท้องตลาดมีมากจึงส่งผลให้มีข้าวสารมีราคาถูกลง
1.        พระองค์ทรงให้บรรดาข้าราชการทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยหันไปทำนาเพิ่มปีละ  2  ครั้ง  ทั้งนาปี
และนาปรัง  ทำให้มีข้าวบริโภคมากขึ้น  ครั้นเมื่อเกิดหนูชุกชุมกัดกินข้าวในยุ้งฉางและทรัพย์สินของราษฎรเสียหายก็ทรงรับสั่งให้จับหนูมาส่งกรมนครบาล  ทำให้จำนวนหนูลดลง ภูมิปัญญานี้ส่งผลถึงปัจจุบันทำให้ประเทศไทยติดอันดับในการส่งออกข้าวไปขายยังต่างประเทศ
1.        ให้ขุดคูเมืองทั้งสองฟากซึ่งเดิมเป็นสวนปลูกผักผลไม้ให้ขุดออกเป็นที่ท้องนา  เรียกว่า
ทะเลตม  เพื่อไว้ทำนาใกล้พระนคร  สำหรับเป็นเสบียงในยามขาดแคลนข้าว   แต่เมื่อข้าศึกยกมาก็สามารถทำเป็นที่ตั้งค่ายไว้ต่อสู่กับข้าศึกได้
สะดวกต่อการค้าขายทางทะเลกับต่างประเทศ และสามารถแสวงหาอาวุธได้ง่ายเพราะอยู่ติดทะเล
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยด้านศิลปกรรม

            เนื่องจากสมัยธนบุรีเป็นราชธานีในระยะเวลาสั้น ๆ  และต้องตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลา
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมจึงมีอยู่บ้าง  เช่น
เรือ  การต่อเรือเจริญมากเพราะมีการต่อเรือรบ เรือสำเภา ตลอดจนเรือกระบวนไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก
สถาปัตยกรรม  กรุงธนบุรีเป็นยุคของการสร้างบ้านแปลงเมือง  จึงมีการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก  อาทิ  พระราชวัง ป้อมปราการ กำแพงพระนคร พระอารามต่าง ๆ  ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยนี้ล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ฐานอาคารจะมีลักษณะอ่อนโค้งดุจรูปเรือสำเภา  ทรงอาคารจะสอบชะลูดขึ้นทางเบื้องบน  ส่วนประกอบอื่น ๆ ของอาคารก็ไม่แตกต่างจากอยุธยามากนัก  เป็นที่น่าเสียดายว่าสถาปัตยกรรมสมัยธนบุรีมักได้รับการบรูณะซ่อมแซมในสมัยหลังหลายครั้งด้วยกัน  ลักษณะในปัจจุบัน
จึงเป็นแบบสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่บูรณะครั้งหลังสุด  เท่าที่ยังปรากฏเค้าเดิมในปัจจุบัน ได้แก่
ป้อมวิชัยประสิทธิ์ กำแพงพระราชวังเดิม พระตำหนักท้องพระโรง และพระตำหนักเก๋งคู่ในพระราชวังเดิมที่ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากจีน  พระอารามทั้งในพระนครและหัวเมืองที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์
ในรัชกาลนี้ล้วนแต่ได้รับการบรูณะใหม่ในรัชกาลต่อมาเช่นกัน  ที่ยังแสดงลักษณะศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี  ได้แก่  พระอุโบสถและพระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม  พระอุโบสถและพระวิหารเดิมวัดราชคฤห์
พระอุโบสถเดิมวัดอินทาราม  ตำหนักแดง วัดระฆังโฆสิตาราม  และพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม
ประณีตศิลป  กรุงธนบุรีมีนายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อย่างพร้อมมูล ทั้งช่างรัก ช่างประดับ
ช่างแกะสลัก ช่างปั้นและช่างเขียน  งานประณีตศิลป์ชิ้นสำคัญสมัยนี้ ได้แก่ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ 4 ตู้
ในหอวชิรญาณ  ซึ่งได้มาจากวัดราชบูรณะ วัดจันทาราม และวัดระฆังโฆสิตาราม  ช่างหล่อคนสำคัญปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า  โปรดให้หลวงวิจิตรนฤมล  ปั้นพระพุทธรูปให้ต้องตามพุทธลักษณะที่โปรดให้สอบสวน  แล้วหล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนองค์หนึ่งปางสมาธิองค์หนึ่ง  งานแกะสลัก  ได้แก่พระแท่นบรรทมในพระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม  ในพระวิหารวัดอินทาราม  และตั่งจากอำเภอแกลง
จังหวัดระยอง  ซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ
จิตรกรรม  ภาพจิตรกรรมสมัยธนบุรีอาจดูได้จาก ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง)  มีการวาดภาพเกี่ยวกับไตรภูมิหรือโลกทั้งสาม  เพื่อปลูกฝังให้คนไทยเกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ  ประพฤติกรรมดี ละเว้นความชั่ว  ซึ่งเก็บรักษาอยู่ ณ หอสมุดแห่งชาติ  และลวดลายรดน้ำที่ปรากฏบนตู้พระไตรปิฎกและภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วรรณกรรม
วรรณกรรมสำคัญที่เกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี มีดังนี้
1. บทละครเรื่องรามเกียรติ์  พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี
2. ลิลิตเพชรมงกุฎ  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน)
3. อิเหนาคำฉันท์  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน)
4. กฤษณาสอนน้องคำฉันท์  ประพันธ์โดยพระยาราชสุภาวดี  และพระภิกษุอินท์
5. โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี  ประพันธ์โดย  นายสวนมหาดเล็ก
6. นิราศกวางตุ้ง หรือนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีนครั้งกรุงธนบุรี พ.ศ. 2324  บทประพันธ์ของ
พระยามหานุภาพ  เป็นวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้
นาฏดุริยางค์และการละเล่น  แม้ว่าศิลปกรรมเหล่านี้จะได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยสงคราม  โดยถูกพม่ากวาดต้อนไปบ้าง  แต่ก็ยังไม่สูญหายไปเสียทีเดียว  ยังคงหลงเหลืออยู่ตามหัวเมืองสำคัญ เช่น เมืองนครศรีธรรมราช  และหลบซ่อนตัวตามเมืองอื่นบ้าง  นอกจากในพระราชสำนักแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี  ได้พระราชทานโอกาสให้บุคคลทั่วไปมีครูฝึกสอนละครนาฏศิลป์  และจัดแสดงได้โดยไม่จำกัด   ทั้งนี้เพื่อบำรุงขวัญประชาชนซึ่งเพิ่งรวบรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นใหม่ ๆ  นาฏศิลป์และการละเล่นสมัยกรุงธนบุรีที่ปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุ  สมโภชพระแก้วมรกต พ.ศ. 2323  คือ โขน หนัง หุ่น ละคร รำ (รำหญิง,รามัญรำ,ชวารำ,ญวนรำถือโคมดอกบัว) มโหรี ปี่พาทย์ ระเม็งโมงครุ่ม ญวนหกและคนต่อเท้า โจนหกร้านหอก หกไม้ลำเดียว หกไม้สูง 3 ต่อ ไต่ลวดลังกาไม้ลวดต่ำ คุลาเล็ก มังกรตรีวิสัย(แทงวิสัย) โตกระบือหรือโตกระบือจีนเงาะ มวย คู่ปล้ำ เสลหรือดาบดั้ง คู่ง้าว คู่ทวน คู่หอก คู่กฤช ชนช้าง แข่งม้า ทวนหลังม้า กระบี่หลังม้าและม้าคลุมม้าคลี  และยังโปรดให้เจ้านครศรีธรรมราชจัดละครมาร่วมงานเป็นการประกวดประชันกับของหลวงด้วย





*** สำหรับคนที่ต้องการเขียนบรรณานุกรม ***

ชื่อเจ้าของบล็อกคือ "นางสาวเพ็ญธนาลัย นาใต้" นะคะ

(ไม่รู้ว่าจำเป็นมั้ย แต่มีคนมาถามแล้วเราตอบช้ามากก เลยใส่ไว้ตรงนี้แล้วกัน)




วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

[แลกเปลี่ยนความคิดเห็น] สำหรับคนชอบเขียนไดอารี่




คนเราย่อมมีเหตุการณ์ที่ประทับใจกันทั้งนั้น

ทั้งเรื่องสนุกๆ เรื่องที่ทำให้เรามีความสุข แต่ความทรงจำของมนุษย์เป็นสิ่งไม่แน่นอน

ถ้าลืมไปล่ะก็น่าเสียดายแย่ เพราะบางครั้งเราก็ลืมไปโดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

เวลาของคนเราจะว่าผ่านไปเร็วก็ใช่ นานก็ใช่

มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะจำเหตุการณ์ทั้งหมดนั้นได้ตลอดไป

นั่นเป็นเหตุผลที่เราชอบเขียนบันทึก หรือไดอารี่นั่นเอง



มีหลายคนนะที่เขียนไดอารี่จนเป็นกิจวัตร รู้ตัวอีกทีมันก็เป็นชีวิตจิตใจไปเสียแล้ว

ไม่ว่าตอนนั้นเราจะอายุน้อยแค่ไหน ลายมือบรมห่วยแค่ไหน

แต่พอเราโต กลับมาอ่าน ก็อดยิ้มไม่ได้



ตัวเราเริ่มเขียนไดอารี่ตั้งแต่ ป.6

เริ่มจากเขียนในสมุดเรียน...ไปซื้อสมุดเล็มเล็กๆมา....เล่มใหญ่ขึ้นไปอีก เล่มใหญ่ขึ้นไปอีก

ประทับใจอะไรก็เขียน เจอเรื่องสนุกๆก็เขียน บางหน้าก็เป็นไดอารี่ภาพค่ะ

และถ้าเปิดอ่านไม่ระวังมักจะเจออะไรบางอย่างปลิวออกมาอยู่เรื่อยเลยค่ะ (หัวเราะ)


นั่นคือใบไม้และดอกไม้ที่เราทับเอาไว้นั่นเอง

ใบโคลเวอร์บ้าง พืช ดอกไม้นู่นนี่นั่น ที่ได้รับในวันต่างๆจากหลายๆคน


ถึงจะแปะใบโคลเวอร์เหมือนๆกันไว้หลายๆใบ แต่ว่า! แต่ละใบไม่ได้มาจากที่เดียวกันนะคะ

บ้างก็เก็บมาจากตอนทัศนศึกษา วัด ข้างทาง และสถานที่ต่างๆที่ไปเที่ยว

ตอนไปงานอีเวนหรือไปบุกกรุงเทพหาซื้อของที่อยากได้

ก็มักจะมีพืชอะไรติดมือกลับมาแปะไว้ให้นึกถึงช่วยเวลานั้นอยู่ตลอด


ของเล็กๆ น้อยๆ มันอาจดูไร้ค่า แต่เราก็เก็บเอาไว้หมดนั่นแหละค่ะ

และมักเขียนกำกับไว้ด้วยว่า 'ใครให้' หรือ 'ไปเจอมาที่ไหน'


คนที่ชอบถ่ายรูป การมีกล้องคู่ใจก็เป็นสิ่งที่ดีค่ะ

มันเป็นอีกหนึ่งวิธีเก็บความทรงจำที่ดีที่สุด


ตอนนี้เราไม่ค่อยมีรูปของตัวเองเมื่อก่อนเลย

ตอนนี้ถึงยังไม่มีกล้อง แต่เพื่อนๆก็แอบถ่ายไว้ให้บ้าง รู้สึกขอบคุณเพื่อนๆมากๆ


-  ขอถามคนอ่านบ้างได้มั้ย? -

ชอบเขียนไดอารี่แค่ไหนคะ?

ทำไมถึงเขียนล่ะ?

เริ่มเขียนตั้งแต่เมื่อไหร่?

ในไดอารี่ของคุณมีอะไรบ้าง?

รู้สึกยังไงเวลาได้อ่านบันทึกเก่าๆของตัวเอง?

เรื่องที่เขียนส่วนใหญ่คือเรื่องเกี่ยวกับอะไร?




มาพูดคุยกันได้นะคะ ^ ^







วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

มาเก็บเงินกันเต๊อะ! [เคล็ดลับง่ายๆในการเก็บเงิน]




สวัสดีค่า

ไม่หลับไม่นอนก็ลุกขึ้นมาเขียนบล็อกอีกตามเคย


ทุกคนก็ย่อมมีของที่อยากได้ค่ะ

หลายท่านเป็นนักสะสม และมักจะทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะได้มันมาในครอบครอง!

และบางท่านก็กินแกลบไม่ว่าจะเพราะเพิ่งหลุดมาจากงานนู่นนี่นั่น

หรือทุ่มเงินไปซื้อของบางอย่างที่อยากได้



เราที่กินแกลบเป็นประจำ พยายามเก็บตังค์และงกจนโดนว่าว่าหน้าเลือดตลอด

เข้มงวดกับเงินมาก พอเก็บไม่ตรงตามตารางที่กำหนดก็เริ่มกุมขมับ

แต่ทั้งๆที่เพื่อนเห็นว่าหน้าเลือดปานนั้นแล้วก็ยังไม่เลิกยืมเงินกันสักที (เหงื่อตก)

เงินจึงรวนเพราะเพื่อนไม่คืนตังค์!! (แต่ก็ยังให้ยืมต่อไปไม่รู้จักเข็ด)

พอนึกถึงของที่อยากได้ ก็นั่งมืดมนอยู่คนเดียว

"ทำยังไงถึงจะเก็บเงินขึ้นแบบสบายๆสักที!!!!"



วันนี้จึงอยากเขียนถึงวิธีการเก็บตังค์ง่ายๆ

และเป็นการเตือนสติตัวเองไปด้วย




1. "เป้าหมาย" คืออะไร?

เหนือสิ่งอื่นใด ต้องตั้งเป้าไว้ก่อนจะพุ่งชน

ถ้าไม่มีเป้าหมายแล้วจะชนอะไร เราจะเก็บเงินไปทำไม จริงไหม?

ลองนึกภาพความสำเร็จที่เราได้สิ่งนั้นมาในครอบครองในที่สุดดูสิคะ มีความสุขน่าดู~ (*´﹀`*)


2. เตรียมกระปุกเป็นของตัวเอง!

ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า โหล กล่อง หรือจะขุดหลุมฝังก็ได้(?)

ส่วนเราใช้เป็นกระเป๋าใบนึงสำหรับเก็บเงินโดยเฉพาะไปเลย


3. เขียนตารางเก็บเงิน!

ข้อนี้อาจไม่เขียนก็ได้ แต่พอเขียนว่าวันนู้นวันนี้ต้องเก็บเท่านี้

แล้วเอาเงินของแต่ละวันมาบวกล่วงหน้า พอเห็นผลลัพธ์ที่ถ้าเราทำได้

แล้วเราจะเก็บได้ทั้งหมดเท่าไหร่ ก็จะรู้สึกมีแรงฮึดขึ้นมาค่ะ


4.ฝึกสมาธิ หักห้ามใจตัวเองให้ได้!

อย่าไปหลงใหลในของจุกจิกที่ไม่จำเป็น

ขนมมันก็แค่ของกินเล่น ถ้าไม่หิวจริงอย่าซื้อ หรือซื้อของที่เน้นอิ่มๆดีกว่า

นึกถึงเป้าหมายของเราไว้ค่ะ !


5. อย่าใจดีจนเกินไป!

เรื่องยืมเงินเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ควรพิจารณาให้ดีว่าเขา

ยืมเงินเราไปทำอะไร ไม่มีค่ารถกลับบ้าน? หิวปางตาย? จำเป็นแค่ไหน

ถ้าเป็นเรื่องไม่คุ้มค่า หรือไร้สาระแล้วล่ะก็ ไม่ให้ยืมดีกว่านะคะ

อ้อ แล้วอย่าลืมทวงคืนให้ไวด้วยนะเออ

ไม่งั้นคนยืมอาจติดนิสัย แล้วก็คืนช้าอยู่เรื่อยๆ


6. อย่ามองข้ามเจ้าเหรียญทั้งหลาย!

เหรียญเล็กๆน้อยๆมันก็อาจกลายเป็นเงินกองโตๆได้เหมือนกัน

ถ้าไม่รู้จะจัดการยังไงดี มันเกะกะ ก็ทิ้งไปซะ! ทิ้งลงกระปุกเลย!


7. ความพยายามที่เสมอต้นเสมอปลาย!

อย่าท้อเป็นอันขาดไม่งั้นจะพังเอานะ

ตอนแรก แน่นอนเราต้องเต็ม 100 อยู่แล้ว แต่ของแบบนี้มันต้องใช้เวลาพอสมควร

ยิ่งตั้งเป้า(ราคา)ไว้สูงเท่าไหร่ เวลาก็ยิ่งใช้เวลานานเท่านั้น

และความพยายามก็ต้องมากตามไปด้วย

เพราะหากเวลาล่วงเลยไปเรื่อย ความตั้งใจของเราเองก็จะหย่อนตามเช่นกันค่ะ


8. เตรียมแผนสอง...!

คนที่เก็บตังค์ก็มีอยู่ทุกเพศทุกวัย

วัยรุ่น วัยเรียน มันเยอะใช่ย่อย เงินไปโรงเรียนก็เอาไปปกติและออมปกติ

แต่ทว่า อย่าพกเงินมากๆ หรือเผลอเอาเงินที่ตั้งใจจะออมติดตัวมาด้วย

เราจะเผลอตาลายตอนไหนไม่มีใครรู้

ถ้าไม่เอามาซะอย่าง ก็ใช้เงินไม่ได้แล้วใช่มั้ยล่ะ

แต่ไม่ใช่ทำให้ตัวเองเดือดร้อนนะคะ ทิ้งเงินไว้บ้านหมดแล้วไม่มีใช้ที่จำเป็น เป็นต้น


9. งาน Past Time และงานเสริม!

ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ในวัยที่จะทำงานได้เงินเดือนมั่นคง

เพราะส่วนใหญ่ก็เรียนอยู่ เราก็มาทำเรื่องที่พอจะทำได้ดีกว่า

อย่างงานพาร์ทไทม์ เลือกงานที่ไม่หนักเกินมือเราจนเกินไป

อาจจะหาเพื่อนทำด้วยยิ่งดี มันสนุกไปอีกแบบนะถ้าเรามุ่งมั่นจริงๆ

หากผู้ที่สะดวกทำงานเสริมได้ จะยิ่งดีขึ้นไปอีกค่ะ


10. อย่าไปสุงสิงกับของยั่วมากเกินไป!

คนเรามันห้ามกันไม่ได้หรอก

ที่จะใฝ่ของที่เราชอบ แต่ถ้ามันยั่วมากเกินจนเราเริ่มหวั่นไหว

แล้วเรารู้สึกอยากเปลี่ยนใจ จะลำบากเอานะ




ทั้งหมดนี้เป็นการเสนอแนวทางเฉยๆค่ะ หวังว่าคงช่วยได้สักนิดนะคะ

ถ้าพอช่วยได้บ้างล่ะก็จะดีใจมากค่ะ

ขอบคุณที่อ่านจนถึงบรรทัดนี้นะคะ





"วันที่ไม่สนุก คือวันที่เราไม่สนุกกับมัน"

เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไรก็สนุกกับมัน

แล้วมันจะสนุกขึ้นมาเอง จริงๆนะ นึกถึงแต่เรื่องสนุกๆที่จะทำหรือได้รับล่ะ


-  THE END -





วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ภาษาวิบัติ: อะไร หรือ อัลไร กันแน่ที่วิบัติ?



สวัสดีค่ะ!

พอดีนอนไม่หลับเลยลุกขึ้นมานั่งเขียนบล็อก

ก่อนอื่นต้องขอบอกไว้ก่อนเลยว่าถ้าข้อมูลเหล่านี้ผิดยังไง

ก็ต้องขออภัยอย่างสูง และขอคำแนะนำด้วยนะคะ



เรื่องมันมีอยู่ว่า

นั่งเรียนภาษาไทยอยู่ และเรียนเกี่ยวกับคำในภาษาไทยในสมัยก่อนกับปัจจุบันค่ะ

ไปสะดุดอยู่คำนึงที่คุณครูยกตัวอย่างมาให้ คือคำว่า

"อะไร"

เมื่อสมัยก่อนนู้นนนเลย ที่จริงแล้วเราไม่ได้พูดว่า 'อะไร' เหมือนสมัยนี้

แต่เป็น

"อัลไร"

ต่างหากล่ะ อัลไรที่เพี้ยนมาเรื่อยๆจนปัจจุบันนี้กลายเป็น 'อะไร' ไปโดยปริยาย

สรุปแล้วที่เราพูดกันปาวๆว่า

"อัลไรมันเป็นภาษาวิบัติ!"

ที่จริงแล้วคำไหนกันแน่ที่วิบัติกันหนอ!!!





#นานๆทีจะเขียนบล็อกที่มีสาระในรอบปี....

- ขอบคุณที่อ่านค่ะ -








วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Hitomi no kotae Thai ver. Lyrics by Dark-kanita

07-Ghost


「 Hitomo no kotae 」

Noria

Thai ver. by Dark-kanita


♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣







--------------------------------------




遠い懐かしき景色 やさしい雪の薫り


tooi natsukashiki keshiki yasashii yuki no kaori


ภาพที่ชวน หวนระลึก ถึงแผ่นดินไกลโพ้น, คิดถึงหิมะอ่อนโยน สุดจะคุ้นตา



途切れ途切れの記憶を 紡いで道を探す

togire togire no kioku wo tsumui de michi wo sagasu

หยุดซะนะ ห้ามมันซะ ดึงความทรงจำไว้, ก่อนออกตามหาเส้นทาง ก้าวเดินต่อไป


狂い出したさだめに 確かな目の前も 

kurui dashita sadame ni tashikana me no mae mo


สับสนนักโชคชะตา พาให้จนตรอก ถ้าเส้นทางอยู่เพียงตรงหน้าเท่านั้น


何もかも見えない

nani mo kamo mienai

แต่ว่ามัน ก็ไม่อาจจะมองเห็น





遠くて見えない 小さな灯火

tookute mienai chiisana tomoshibi


โอ้แสนยาวไกลไม่อาจจะมอง เจ้าแสงตะเกียงเพียงดวงเล็กนั้น



願うほどに 失うもの

negau hodo ni ushinau mono

ความหวังมันพลันต้องมืดหม่นดับ อับแสงนั้นไป


深い闇を 斬り裂いてく

fukai yami wo kirisaiteku

ความมืดที่มี มากมาย นั้นขอทำลายด้วยใจให้มันสิ้นสุด

心は此処に在ると

kokoro ha koko ni aru to

สิ้นสุดลง ณ ที่นี้


奏でる賛美歌 温かい涙

kanaderu sanbika atatakai namida


ขับร้องบรรเลงเพลงสาธุการ สรรเสริญทั้งน้ำตายังรินไหล



零れ落ちる 生きて行く限り

koboreochiru ikiyuku kagiri

จะขอยืนยันตั้งมั่นคงอยู่ จะมีชีวิตไป


天を仰ぐ 緋い瞳

sora wo aogu akai hitomi

ณ ฟ้าสวรรค์ เบื้องบน บันดลดวงตาสีแดงมองไปบรรจบ


見つけた 明日への道

mitsuketa asu he no michi

พบทางสู่วันพรุ่งนี้


歩き出す

arukidasu

จึง..ก้าวออกเดินไป…….






何時か誓った言葉が 鮮やかに甦る


itsuka chikatta kotoba ga azayaka ni yomigaeru


มีถ้อยคำที่เคยย้ำ สัญญาในครานั้น ถึงวันที่จำเป็นต้องทบทวนขึ้นมา


辿り触れ行く記憶は 棘の道のしるし

tadorifureyuku kioku ha ibara no michi no shirushi

รู้สึกนะ ความจำนั้น อดีตที่ชอกช้ำ ขวากหนามมากมายที่มีไปจนสุดทาง


思い出したさだめの 全てを受け入れた 

omoidashita sadame no subete wo ukeireta


แต่ฉัน ยังคงยืนยัน น้อมรับทุกสิ่ง โชคชะตากำหนดมาจะไม่ทิ้ง


握る手は消せない

nigiru te ha kesenai

และที่จริง ยังมีมือคอยกุมไว้




慈しむ祈り 小さな微笑み


itsukushimu inori chiisana hohoemi


รอยยิ้มบางบาง แม้เพียงครู่หนึ่ง รวมถึงถ้อยคำร่ำอธิฐาน



護るために 導かれる

mamoru tame ni michibikareru

ฉันนั้นยืนยัน ตั้งมั่น ปกปัก พิทักษ์เรื่อยไป


哀しみさえ 斬り裂いてく

kanashimi sae kirisaiteku

ความเศร้าที่มีมากมาย นั้นขอทำลายด้วยใจให้มันสิ้นสุด

心は此処に在ると

kokoro ha koko ni aru to

สิ้นสุดลง ณ ที่นี้



繋がる歌声 愛を知る涙

tsunagaru utagoe ai wo shiru namida


ร่ำร้องเป็นเพลง แม้ทั้งน้ำตา รู้ซึ้งถึงคำว่าความรักนั้น



幾つもある いのちの限り

ikutsumo aru inochi no kagiri

ชีวิตที่ฉันต้องดำรงอยู่ มีสักเท่าไหนกัน

天へ続く 花のつばさ

sora he tsudzuku hana no tsubasa

ดอกไม้สวรรค์ เบื้องบน บานล้นหนทางมากมายโบยบินไปส่ง


咲かせた 明日への道

sakaseta asu he no michi

ตรงทางสู่วันพรุ่งนี้

続いてく

tsudzuiteku

จึง...ก้าวออกเดินไป...





最後の願いを叶えるのだとしたら


saigo no negai wo kanaeru no da to shitara


ฉันปรารถนาสุดท้ายเพียง ส่งมัน และมอบให้เธอเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น



ひとつだけの光を届ける

hitotsu dake no hikari wo todokeru

นั่นคือแสงสุดท้ายเพียง ส่องสว่างไป มอบให้แด่เธอ




遠くて見えない 小さな灯火
tookute mienai chiisana tomoshibi


โอ้แสนยาวไกลไม่อาจจะมอง เจ้าแสงตะเกียงเพียงดวงเล็กนั้น



願うほどに 失うもの

negau hodo ni ushinau mono

ความหวังมันพลันต้องมืดดับหม่นดับ อับแสงนั้นไป


深い闇を 斬り裂いてく

fukai yami wo kirisaiteku

ความมืดที่มี มากมาย นั้นขอทำลายด้วยใจให้มันสิ้นสุด


心は此処に在ると

kokoro ha koko ni aru to

สิ้นสุดลง ณ ที่นี้


奏でる賛美歌 温かい涙


kanaderu sanbika atatakai namida


ขับร้องบรรเลงเพลงสาธุการ สรรเสริญทั้งน้ำตายังรินไหล



零れ落ちる 生きて行く限り

koboreochiru ikiyuku kagiri

จะขอยืนยันตั้งมั่นคงอยู่ จะมีชีวิตไป


翳りもなく迷いのない

kageri mo naku mayoi no nai

จะไม่ลังเล แน่นอน มองย้อนเข้าไปแล้วเธอจะพบคำตอบ


瞳のこたえ いだいて 進んでく

hitomi no kotae idaite susundeku

ภายในดวงตาคู่นี้ ฉัน..จะออกเดินไป...






--------------------------------------


ฟังเพลง Hitomi no kotae thai ver. กดลิงก์ด้านล่างเลย!


ขอบคุณเพลงเพราะ เนื้อหาดีๆจากอนิเมะ 07-Ghost

ขอบคุณเนื้อเพลงไทยดีๆจากเจ้ตาด้วยนะคะ




--------------------------------------